ทำป้ายธงญี่ปุ่นหน้าร้าน หรือป้ายอื่นๆ ทำไมต้องเสียภาษีป้าย

ทำป้ายธงญี่ปุ่นหน้าร้าน หรือป้ายอื่นๆ ทำไมต้องเสียภาษีป้าย

รู้หรือไม่ว่า “ภาษีป้าย” มีความสำคัญกับการ ทำป้ายธงญี่ปุ่นหน้าร้าน อย่างไร และป้ายหน้าร้านแบบไหน ต้องเสียภาษีป้ายบ้าง และถ้าไม่เสียภาษี จะส่งผลอย่างไร ซึ่งหากใครที่เปิดร้านเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร หรือร้านขายของทั่วไป ที่มีป้ายหน้าร้าน คงอาจเคยได้ยินคำว่า “ภาษีป้าย” กันมาบ้าง แล้วเพื่อนๆ เคยสงสัยไหมว่าภาษีดังกล่าวเป็นแบบไหน ราคาเท่าไรบ้าง เราไปหาคำตอบกับ Bangkokquickprint.com กันเลยค่ะ

“ภาษีป้าย” คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากธุรกิจร้านค้าที่มีการติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าต่างๆ โดยผู้ที่เป็นเจ้าของป้ายที่นำมาติดจะต้องเสียภาษีป้าย แม้จะเป็นป้ายขนาดเล็ก หรือเป็นป้ายผ้าใบขนาดใหญ่ ก็ต้องเสียภาษีป้ายทั้ง 2 แบบ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถวางแผนได้ก่อนที่จะสั่งทำป้ายธงญี่ปุ่นหน้าร้าน ว่าควรทำป้ายดีหรือไม่ หากทำแล้วต้องเสียภาษีป้ายเท่าไร โดยประเภทป้ายที่ต้องเสียภาษี มีดังต่อไปนี้

ทำป้ายธงญี่ปุ่นหน้าร้านหรือทำป้ายแบบไหนที่ต้องเสียภาษี

นอกจากจะมีป้ายธงญี่ปุ่นที่ต้องเสียภาษีแล้ว ก็ยังมีป้ายอื่นๆที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ เพื่อหารายได้หรือใช้โฆษณาการค้า ไม่ว่าจะเป็นป้ายชื่อ ป้ายหน้าร้าน ป้ายไฟ ป้ายดิจิตอล ป้ายที่สามารถเคลื่อนไหวได้ ป้ายเครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้า

ซึ่งอาจจะแสดงในรูปแบบของ โลโก้ ตัวอักษร รูปภาพ หรือเครื่องหมายอื่นๆ ที่ทำขึ้นด้วยการพิมพ์ การเขียน แกะสลัก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ลงบนวัตถุใดๆ ก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็ยังมีป้ายที่ได้รับการยกเว้นเสียภาษีด้วยเช่นกัน ได้แก่

ป้ายที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี

  • ป้ายที่ติดในอาคาร
  • ป้ายที่มีล้อเลื่อน (ต้องมีการเลื่อนป้ายเข้า-ออก)
  • ป้ายตามงานอีเว้นท์ที่จัดเป็นครั้งคราว
  • ป้ายของทางราชการ
  • ป้ายของโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน
  • ป้ายวัด สมาคม มูลนิธิ
  • ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้น เพื่อโฆษณามหรสพ
  • ป้ายที่ติดอยู่กับสินค้า บรรจุภัณฑ์สินค้า
  • ป้ายที่ติดไว้ที่คนและสัตว์
  • ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ได้แก่ ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • ป้ายของผู้ประกอบการเกษตร
  • ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์

ภาษีป้ายในการทำป้ายธงญี่ปุ่นหน้าร้านราคาเท่าไร

ในการรับทำป้ายธงญี่ปุ่นหน้าร้าน เราสามารถออกแบบป้ายได้อย่างหลายแบบหลายสไตล์ ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมต่อร้านค้านั้นๆ บางป้ายอาจมีภาษาไทยอย่างเดียว หรือมีภาษาต่างประเทศ และมีรูปภาพหรือเครื่องหมายอื่นๆ ด้วย ซึ่งมีผลต่อการคำนวณป้ายภาษี โดยประเภทป้ายสามารถแบ่งได้ตามแบบอักษรที่ใช้ ดังนี้

1.ป้ายอักษรภาษาไทยล้วน

  • ป้ายที่มีข้อความภาษาไทย (ป้ายติดทั่วไป) 5 บาท/500 ตร.ซม.
  • ป้ายที่มีข้อความภาษาไทย เคลื่อนที่หรือเปลี่ยนข้อความได้ (ป้ายไฟวิ่ง) 10 บาท/500 ตร.ซม.

2.ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศ และรูปภาพ เครื่องหมายอื่นๆ

  • ป้ายที่มีทั้งข้อความภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ รูปภาพ เครื่องหมายอื่นๆ (ป้ายติดทั่วไป) 26 บาท/500 ตร.ซม.
  • ป้ายที่มีทั้งข้อความภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ รูปภาพ เครื่องหมายอื่นๆ ที่เคลื่อนที่ เปลี่ยนข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นๆ ได้ (ป้ายไฟวิ่ง) 52บาท/500 ตร.ซม.

3.ป้ายไม่มีอักษรไทย หรือมีบางส่วน และอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

  • ป้ายที่ไม่มีข้อความภาษาไทย หรือมีภาษาไทยเพียงบางส่วน และทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าภาษาต่างประเทศ (ป้ายติดทั่วไป) 50 บาท/500 ตร.ซม.
  • ป้ายที่ไม่มีข้อความภาษาไทย หรือมีภาษาไทยเพียงบางส่วน และทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าภาษาต่างประเทศที่เคลื่อนที่ เปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นๆ ได้ (ป้ายไฟวิ่ง) 52 บาท/500 ตร.ซม.

หมายเหตุ: ภาษีป้ายจะเรียกเก็บเป็นรายปี โดยมีอัตราภาษีป้ายขั้นต่ำ 200 บาท แต่หากคำนวณพื้นที่ป้ายแล้ว มีเศษเกิน 250 ตร.ซม. ให้คิดเป็น 500 ตร.ซม.

ยื่นแบบและชำระภาษีป้ายเมื่อไร

หากคุณเปิดร้าน ไม่ว่าจะร้านใดก็ตาม แล้วได้สั่งทำป้ายธงญี่ปุ่นหน้าร้าน และได้นำมาติดตั้งบริเวณร้านค้าเรียบร้อยแล้วนั้น จำเป็นจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) เพื่อชำระภาษีป้าย ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ บริเวณพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ส่วนป้ายที่ติดตั้งใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงหลังเดือนมีนาคม ให้ยื่นแบบภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งป้าย

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์
  • สำเนาใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย (ถ้ามี)
  • หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
  • ใบมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นดำเนินการแทน

หมายเหตุ: เอกสารอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่

ช่องทางการชำระภาษี

เมื่อยื่นเอกสารกับทางหน่วยงานเรียบร้อยแล้ว จะได้ใบแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ จากนั้นสามารถเลือกชำระเงินภาษีได้ที่

  • ฝ่ายการคลัง ที่สำนักงานเขตและที่ว่าการอำเภอ
  • ธนาคารกรุงไทย (ทุกสาขาทั่วประเทศ)
  • ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย
  • Internet Banking ธนาคารกรุงไทย

หมายเหตุ: หากชำระภาษีเกินระยะเวลาที่กำหนดและมีเงินเพิ่ม สามารถชำระได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ

ไม่เสียภาษีป้ายมีผลอย่างไร

ในกรณีที่ทำป้ายธงญี่ปุ่นหน้าร้าน และได้มาติดตั้งแล้ว หากเจ้าของร้านไม่ได้ทำการยื่นแบบชำระภาษี หรือไม่ชำระเงินค่าภาษีตามกำหนด จะมีผลดังต่อไปนี้

  • ไม่ยื่นแบบชำระภาษีในเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่ม 10 % ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี
  • ไม่ได้เสียภาษีในเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี

บทลงโทษตามกฎหมาย

  • หากเจ้าของร้านหรือผู้ประกอบการมีเจตนาไม่ยื่นแบบชำระภาษีป้าย มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท – 50,000 บาท
  • หากเจ้าของร้านหรือผู้ประกอบการแจ้งข้อความเท็จ หรือหลีกเลี่ยงไม่จ่ายภาษีป้าย จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • หากไม่แจ้งรับโอนป้าย หรือไม่แสดงรายการเสียภาษีป้าย มีโทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท – 10,000 บาท

สรุป

เพราะภาษีป้ายนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับร้านค้าที่มีการติดตั้งป้ายประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับ โดยสำหรับใครที่เปิดร้านค้าเป็นของตนเอง ก็อย่าลืมดำเนินการให้ถูกต้องด้วยการไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย และชำระค่าภาษีป้ายให้เรียบร้อย โดยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอทุกพื้นที่

และสำหรับใครที่สนใจ ป้ายธงญี่ปุ่น ป้ายหน้าร้าน ป้ายตู้ไฟ และป้ายอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ Bangkokquickprint.com ได้เลยที่ 082-359-2429 , 094-326-1629 หรือแอดไลน์ @bangkokquickprint

Ref

https://www.เพื่อนแท้ร้านอาหาร.com/restaurant404
https://www.bangkokbiznews.com/business/968987